.
 
 
    Carbon Label คืออะไร ?  
    ................................................  
 
ปัญหา ภาษาไทย บน Windows XP  
    ................................................  
 
 
    ................................................  
 
ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการพิมพ์สติกเกอร์  
    ................................................  
 
โอนข้อมูล Excel ไป Tigerr Label Software  
    ................................................  
 
 
 
ปากเคมีทำลายแผ่น CD/DVD  
    ...............................................  
 
วิธีการพิมพ์ สติกเกอร์ ซีดี CD Label)  
    ...............................................  
 
การปรับเครื่องพิมพ์ ให้พิมพ์ตามขนาด .  
    ...............................................  
 

 
    การจัดเก็บแผ่นซีดี เข้าแฟ้มเอกสาร  
    ..................................................  
 
ทราบหรือไม่ว่าเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดกลัวอะไร"  
    ..................................................  
 
        Stomper  อุปกรณ์ช่วยติด  สติกเกอร์ บนแผ่นซีด๊ CD  
    ..................................................  
 
เลือกบัตรเชิญ แต่งงานอย่างไรให้เป็นมงคล  
   
 
    ...................................................  
 
 
 
ปัญหาในการใช้โปรแกรม.....  
    ...............................................  
 
วิธีการ ค้นหาแผ่นซีดีที่ต้องการ  
    ...............................................  

 

 

Carbon Label คืออะไร
เลเบลแสดงการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Label) แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
  • เลเบลที่แสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยออกมา (Carbon Footprint: CF) เป็นเลเบลที่ทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) จากผลิตภัณฑ์ โดยใช้แนวคิดของการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment, LCA) และระบุปริมาณในรูปของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO 2 equivalent) โดยกำกับบนเลเบลที่ติดให้กับผลิตภัณฑ์ หรือ บรรจุภัณฑ์ หรือแหล่งสื่อสารอื่นๆ
  • เลเบลแสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง (Carbon Reduction) ซึ่งแสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจากผลิตภัณฑ์

ทั้ง นี้ในปัจจุบัน มีการใช้ Carbon Label ในบางประเทศแล้ว เช่น อังกฤษ และอเมริกา นอกจากนี้ยังมีความพยายามในประเทศอื่นๆ อาทิ ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการติดเลเบลนี้ ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (แชมพู สบู่ ฯลฯ) เป็นต้น

หน่วยงานที่เป็น ผู้ให้การรับรองเลเบล
ในต่างประเทศ หลายๆ ประเทศได้ให้ความสนใจและพยายามสนับสนุนการทำ Carbon Label โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ทำหน้าที่เป็นผู้ให้การรับรอง หรือ เป็นผู้ให้คำปรึกษา) อาทิเช่น

  • สหราชอาณาจักร: Carbon Trust เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ในสหราชอาณาจักร จัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นเรื่องการลดปริมาณการปลดปล่อย GHGs

    เลเบลแสดงการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกของประเทศอังกฤษ
  • สหรัฐอเมริกา: Carbon Label for California เป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจาก Silicon Valley philanthropist Noel Perry และทำงานร่วมกับรัฐแคลิฟอร์เนีย ในการร่างข้อกำหนดเลเบล ซึ่ง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Low-Carbon Seal (หลักการคล้ายคลึงกับเลเบลสิ่งแวดล้อมแต่มุ่งเน้นที่การปล่อยก๊าซ เป็นประเภทย่อยจาก CF), Carbon Score (หลักการเดียวกันกับ CF ของ Carbon trust), Carbon Rating (หลักการคล้ายคลึงกับเลเบลประหยัดพลังงานของประเทศไทยแต่มุ่งเน้นที่การปล่อยก๊าซ เป็นประเภทย่อยจาก CF)
  • ญี่ปุ่น: ปัจจุบัน (ธันวาคม 2551) ยังไม่ได้มีองค์กรที่ออกเลเบลและให้คำปรึกษาอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม The Japan Environmental Management Association for Industry (JEMAI) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเลเบลสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 (Eco leaf) มีแนวโน้มที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลงานด้านนี้ของประเทศญี่ปุ่น

สำหรับ ประเทศไทย ใน ปัจจุบัน (ธันวาคม 2551) ได้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thai Greenhouse Gas Management Organization: TGO) มีหน้าที่ให้การรับรองเลเบล Carbon Reduction อย่างเป็นทางการ โดยแสดงผลในรูปของปริมาณ GHGs ที่ลดลง ซึ่ง TGO ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการประเมินและการจัดทำเลเบล ฯ

ที่มา:http://www.mtec.or.th

 

        

 

 

Eng Thai

 

(C ) บริษัท นว ซีบีเอ็มแอล จำกัด www.tigerrlabel.com Dennison Conporation All rights resered.